แถลงนโยบายรัฐบาล- “สว.นิสดารก์” ชี้ นโยบาย “เศรษฐา” ให้ความสำคัญด้านการศึกษาน้อย

เมื่อเวลาประมาณ 09.50 น. ศาสตราจารย์ นิสดารก์ เวชยานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ลุกขึ้นเสนอแนะแนวทางนโยบายด้านการศึกษาต่อนโยบายของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน

โดยศาสตราจารย์นิสดารก์ระบุว่า มีข้อแนะนำสำหรับรัฐบาลนี้ทั้งหมด 8 ประเด็น ประเด็นแรกคือ เมื่ออ่านนโยบายรัฐบาลนี้แล้ว ค่อนข้างจะเสียใจที่รัฐบาลนี้ ซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือน อาจจะให้ความสำคัญกับนโยบายทางการศึกษาค่อนข้างน้อยไป

แถลงนโยบายรัฐบาล : 'วิทยา' ติงสมาชิกไร้วินัย อภิปรายอ่านแต่สคริปต์ แต่งตัวเหมือนอยู่โรงละคร คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 แถลงนโยบายรัฐบาล- “สว.นิสดารก์” ชี้ นโยบาย “เศรษฐา” ให้ความสำคัญด้านการศึกษาน้อย

แถลงนโยบายรัฐบาล : "อนุทิน" ยัน นโยบายผู้ว่าฯ ซีอีโอ ไม่ใช่รวบอำนาจ

แถลงนโยบายรัฐบาล : "เศรษฐา" ย้ำ รัฐบาลให้ความสำคัญแก้ปัญหายาเสพติด ผู้เสพต้องรักษาให้หาย นำสู่อ้อมกอ…

“ดูนโยบาย 14 หน้า มีคำที่เกี่ยวกับนโยบายการศึกษาแค่ 282 คำ แล้วก็จริง ๆ แล้ว ท่านก็คงจะทราบว่า การลงทุนที่ได้ผลคุ้มค่ามากที่สุด คือการลงทุนในทุนมนุษย์ เพราะฉะนั้นท่านดูสิว่า ที่เราต้องมีนโยบายในการพักชำระหนี้ เราต้องมีนโยบายในการแจกเงิน เพราะอะไรคะ เพราะว่าคนของเราไม่สามารถที่จะช่วยเหลือและยืนได้ด้วยตัวเอง อันนี้เป็นประเด็นซึ่งควรจะให้ความสำคัญกับนโยบายการศึกษามากกว่านี้” ศาสตราจารย์นิสดารก์กล่าว

ประการที่สอง ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูที่มีความเป็นกลาง เพราะไทยในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมไทยค่อนข้างมาก มีความรุนแรงอย่างสุดโต่งที่เกิดในโซเชียลมีเดีย มีความต้องการจะเอาชนะอย่างรุนแรง อันนี้เกิดจากครู เกิดจากอาจารย์ ที่ไม่วางตัวเป็นกลาง “ตรงนี้จะฝากไว้ว่าทำยังไงที่ท่านจะสามารถพัฒนาครู ที่จะสอนหนังสือและให้เด็กมีความเป็นกลาง สอนให้เขาคิดแต่ไม่ต้องชี้นำ”

ประเด็นที่สาม ขาดอัตลักษณ์ (Identity) ไม่มีสิ่งที่จะบอกว่า นี่คือตัวตนของท่าน นโยบายควรจะมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน เสนอว่า อาจจะเอาเวลาที่เหลือไปดูนโยบายของพรรคต่าง ๆ ที่มารวมกับท่าน ว่านโยบายไหน ที่สามารถจะสร้างอัตลักษณ์ของท่านได้บ้าง ยกตัวอย่าง ถ้าจะเน้นเรื่องลดความเหลื่อมล้ำ ท่านไปดูนโยบาย Smart Classroom กับ Virtual School เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเอามารวมกัน แล้วเป็นนโยบายซึ่งทำได้ทั่วทั้งประเทศ

ข้อสี่ เมื่อนโยบายท่านไม่มีอัตลักษณ์ การดำเนินการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นปัญหา และความที่ดิฉันทำหน้าที่ในการติดตามเสนอแนะเร่งรัดการปฏิรูป และดูกระทรวงสังคม 6 กระทรวง บอกได้เลย กระทรวงที่มีปัญหาในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติมากที่สุดก็คือกระทรวงศึกษาธิการ และผลที่เกิดขึ้นคือ ทำให้กระทรวงนี้คนส่วนใหญ่ก็จะไปทำงานประจำ เมื่อทำงานประจำ มันก็ไปเรื่อย ๆ แต่จะไม่บรรลุ

ประการที่ห้า เรื่องของความเหลื่อมล้ำ ควรที่จะให้ความสำคัญ เสนอแนะว่า ควรเน้นการจัดการการศึกษาเชิงพื้นที่ และทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง

ประการที่หก ควรจะสร้างความสมดุลระหว่างคุณภาพการศึกษากับความสุขในการเรียนหนังสือ ทำยังไงจะเกิดความสมดุล ถ้าท่านไปดูจะเห็นว่า เราลงทุนไปเยอะ ปี 2023 ต่อหัวต่อคนต่อปีของเด็กอยู่ 1,294 ดอลลาร์สหรัฐ (46,000 บาท) ปีนี้ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ (56,800 บาท) แสดงว่าเราลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลลำดับลดลง

ประการที่เจ็ด เนื่องจากดิฉันเป็นกรรมาธิการทหารด้วย เคยทำวิจัยการศึกษาที่ชายแดนใต้ จึงเห็นว่า คุณภาพการศึกษาเด็ก 3 จังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นอยากให้ท่านคิดใหม่ว่า เด็กไทยทุกคนไม่ว่าเด็กศาสนาไหน เชื้อชาติไหน เขาเป็นลูกหลานไทยทั้งนั้น ท่านต้องลงทุนและให้ความสำคัญกับเขาโดยเสมอภาค

สุดท้าย อยากให้รัฐบาลนี้ให้ความอิสระกับครู ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น มีครูเยอะ ที่เก่ง ๆ ที่มาจากโครงการคุรุทายาท แต่ก็มีครูอีกเยอะเหมือนกันที่ยังสอนแบบเดิม เพราะฉะนั้นท่านต้องหาวิธีสร้างที่ว่างเพื่อที่จะให้ครูเก่ง ๆ เข้ามา

ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566

ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน

ส่อง “ร้านอาหารเกาหลีเหนือ” ในต่างประเทศ ไม่มีลูกค้าแต่เงินสะพัด

ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้

By admin

Related Post